Games Based Learning


Games Based Learning หรือ GBL คืออะไร



          Game Based Learning เป็นนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ออกแบบและสอดแทรกเนื้อหาบทเรียนลงไปในเกม ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ลงมือเล่นและฝึกปฏิบัติในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยในขณะที่ลงมือเล่นผู้เรียนจะได้รับทักษะ และความรู้จากเนื้อหาบทเรียนไปด้วยขณะที่เล่น เกมมักมีสถานการณ์จำลองเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกท้าทายและอยากที่จะเล่น




          Game Based Learning คือสื่อในการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความสนุกสนานไปพร้อมๆกับการได้รับความรู้ โดยสอดแทรกเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรนั้นๆเอาไว้ในเกมส์ และให้ผู้เรียนลงมือเล่นเกมส์ โดยที่ผู้เรียนจะได้รับความรู้ต่างๆของหลักสูตรนั้นผ่านการเล่นเกมส์นั้นไปด้วย Game Based Learning เป็นสื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ทั้งในระดับความจำและความเข้าใจ นอกจากนี้ Game Based Learning ยังเป็นที่น่าสนใจสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ได้ สร้างความรู้สึกสนุกสนานให้แก่ผู้เรียน และชักจูงให้ผู้เรียมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้จนกระทั่งเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผลการวิจัยนี้เหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้กับการฝึกอบรมรูปแบบเดิมๆได้ เช่นวิชาใดเป็นวิชาที่ยาก ข้อมูลเยอะ ผู้เรียนไม่ค่อยอยากเรียนวิชานี้ นักฝึกอบรมหรือผู้ออกแบบการเรียนรู้สามารถนำเอาเนื้อหาเหล่านั้นมาดัดแปลงเป็นเกมส์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และง่ายต่อความเข้าใจมากขึ้น แต่การออกแบบหลักสูตรในลักษณะแบบ Game Based Learning นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ควรต้องออกแบบอย่างระมัดระวัง และควรนำเกมส์ที่ออกแบบมาทดลองใช้หลายๆครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเกมส์นั้นยังคงเนื้อหาที่สำคัญทั้งหมด และสร้างความสนุกสนาน และสร้างความมีส่วนร่วมให้แก่ผู้เรียนได้




ข้อดีของวิธีสอนโดยใช้เกม


          1.  เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง  ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น

          2.  เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้   โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง   ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน

          3.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอน  และผู้เรียนชอบ


ข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยใช้เกม


          1.  เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก

          2.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม

          3.  เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก

          4.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ   จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์เกมEnglish for general



การเรียนรู้ผ่านเกม(Game-Based Learning หรือ GBL)


          การเรียนรู้ผ่านเกม(Game-Based Learning หรือ GBL) ในต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในวงการศึกษาไทยในการที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน การเรียนรู้ผ่านเกม (กรมวิชาการ) ได้แสดงบทความเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ว่า เราสามารถนำทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุปกรณ์ วิธีการ ตลอดจน คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์หรือแนวคิดอาจอยู่ในลักษณะที่ถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดศักยภาพทางความคิด ตลอดจนสิ่งที่กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  
          การเรียนรู้ผ่านเกม (Game-Based Learning หรือ GBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน เป็นเพราะการที่ผู้เรียนเกิดมาในยุคที่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆและเครื่องมือสื่อสารที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จึงมีผลทำให้ ความชอบ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้และการที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้  เช่นเดียวกับคำกล่าวของ (รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง และ ณฐนันท์ กาญจนคูหา) ว่าจากความนิยมในการเล่นเกมดิจิตัลนานาชนิด ตั้งแต่ เกมบนมือถือ บนเครื่องมือสร้างเครือข่ายทางสังคม
(Social Networking Tools) เรื่อยไปจนถึง เกมออนไลน์สามมิติ จึงทำให้การเรียนรู้ผ่านเกมดิจิตัลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัวตัวผู้เรียนอีกต่อไป  นอกจากนี้การเรียนรู้ผ่านเกม ( Game-Based Learning หรือ GBL) ยังเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ได้นำเอาความสนุกสนานของเกมได้ และเกมออกแบบให้อยู่ในรูปแบบใหม่ผสมผสานเนื้อหาบทเรียนวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลินมีความสุขกับการเรียนรู้ และได้รับความรู้ไปด้วย โดยเฉพาะเกมที่มีสถานการณ์จำลองมีความสนุกสนานเพลิดเพลินและมีความท้าทายทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ


ประโยชน์ GBL

          - ส่งเสริมการสังเกตและเปรียบเทียบจากของจริง วัสดุสิ่งของต่างๆ และรูปภาพ
          - ส่งเสริมการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจแก้ปัญหา 
          - ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อ และการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 
          - ส่งเสริมการเล่นร่วมกัน 
          - ส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าในการแสดงออก กล้าพูด กล้าคิด
          - ส่งเสริมให้เป็นคนยอมรับการแพ้ ชนะ การทำตามกติกา 
          - ส่งเสริมนิสัยดีให้แก่เด็ก
          - ส่งเสริมทักษะที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า 
          - ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าด้วยตนเอง 
          - เพราะรูปแบบของเกมมีหลากหลาย ในแต่ละรูปจึงมีประสิทธิภาพเน้นในด้านที่แตกต่างกัน
          - ความจำ ประเภทของเกม Quiz,Crossword,puzzles 
          - ทักษะการกระทำ ประเภทของเกม เกมยิง,เกมขับรถ 
          - ประยุกต์ความคิดรวบยอดและกฎข้อบังคับต่างๆ ประเภทของเกม เกมกีฬาต่างๆ
          - ตัดสินใจการแก้ปัญหา ประเภทของเกม เกมวางแผน,เกมผจญภัย 

          - การอยู่ร่วมกับสังคม ประเภทของเกม เกมที่ต้องมีการสัมพันธ์กับผู้อื่น

แหล่งที่มา

http://kasineepuipui.wordpress.com/2012/09/06/game-based-learning/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น